ปริศนาคำทาย

การลากเส้นจากเสียงดนตรีโรงเรียนสาธิตอนุบาลจันทรเกษม

วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บันทึกครั้งที่ 6

สรุป
การใช้ภาษาในการที่เราจะนำไปสอนเด็กแต่ละวัน ซึ่งต้องจัดประสบการณ์ในการเรียน
และให้เล่าเกี่ยวกับประกาศ
บรรยากาศในห้องเรียน
1.ได้ทราบเกี่ยวกับการประกาศโดยอาจารย์จะสาธิตการประกาศขายบ้าน แล้วให้เพื่อนลองพูดประกาศเหมือนอาจารย์
2.อาจารย์เป็นกันเองมาก
3.น้ำเสียงในการประกาศชัดเจน

วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บันทึกครั้งที่ 5

สิ่งที่ได้รับจากที่เพื่อนนำเสนองาน
เรื่อง การจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้สอดคล้องกับพัฒนาการ เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านการฟัง พูด อ่าน เขียนและต้องผ่านการลงมือกระทำ ทดลอง ปฏิบัติจริง บนพื้นฐานอย่างอิสระ

บรรยากาศในการเรียน
1.เพื่อนนำเสนองานบางครั้งอธิบายไม่เข้าใจ
2.เพื่อนนำเสนอพูดน้ำเสียงยังไม่ชัดเจน คำควบกล้ำ
3..อากาศในห้องเรียนเย็น

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บันทึกครั้งที่ 4

อาจารย์ให้นำเสนองาน สรุปใจความสำคัญดังนี้
กลุ่ม 1 เรื่อง ความหมายของภาษา
ภาษาเป็นสิ่งจำเป็นในการถ่ายทอดวัฒนธรรม ซึ่งภาษาได้แก่การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน นอกจากนี้ท่าทางหรือสัญลักษณ์ยังเป็นภาษา ซึ่งมีผู้ส่งสารและผู้รับสารต้องเข้าใจความหมายตรงกัน


กลุ่ม 2 เรื่อง ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
ทฤษฎีของเพียเจต์ คือการเรียนรู้ของเด็กเป็นกระบวนการทำงานของระบบประสาท เรียกว่า"ปฏิบัติการ"
ทฤษฎีของบรูเนอร์ เป็นการเรียนรู้จากการทำกิจกรรมผ่านทางสมอง


กลุ่ม 3 เรื่อง จิตวิทยาการเรียนรู้
เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์เริ่มเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนตาย ดัง "สิ่งที่ทำให้คนเราแตกต่างจากสัตว์อื่น ๆ ก็เพราะว่า คนย่อมมีปัญญา
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
1. แรงขับ เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล
2. สิ่งเร้า เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ
3. การตอบสนอง เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า
4. การเสริมแรง เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น


กลุ่ม 4 เรื่อง แนวคิดนักการศึกษา
การสอนภาษาแบบองค์รวม คือการสอนที่เป็นไปตามธรรมชาติ เน้นสื่อที่มีความหมาย ประสบการณ์เดิม
หลักการอ่านและเขียนภาษาแบบองค์รวม
1.ผู้อ่านต้องต้องเก็บข้อมูลและทำความเข้าใจความหมายข้อความที่อ่าน
2.กระบวนการอ่านต้องเชื่อมโยงกับรูปภาพที่เด็กเห็น
3.การเขียนจะเน้นความสัมพันธ์
นักทฤษฎี
ดิวอี้ เกิดจากประสบการณ์การลงมือกระทำ
ไวกอตสกี การเรียนรู้จาการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลใกล้เคียง
ฮอลลิเดย์ สถานการณ์ในสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อภาษาสำหรับเด็ก


กลุ่ม 5 เรื่อง การจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก
หลักการจัดการเรียนรู้
ทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการ เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน
และต้องผ่านการลงมือกระทำ ทดลอง ปฏิบัติจริง บนพื้นฐานอย่างอิสระ

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บันทึกครั้งที่ 3 เทคนิคการสอนภาษา

เทคนิคการสอนภาษา
การสอนภาษาสำหรับเด็กไม่ใช่เพียงการสอนเฉพาะทักษะการอ่านและการเขียนแต่ต้องรวมถึงทักษะการฟัง การพูดด้วย ซึ่งเป็นพื้นฐานของการอ่านและการเขียนครูสามารถประเมินผลการสอนของตนเองจากเด็กง่ายๆ โดยให้สังเกตว่าเวลาเราสอนเด็กรู้สึกอย่างไร
แนวคิดพื้นฐานของการสอนภาษา
1.ครูจะต้องทราบว่าเด็กเรียนรู้อย่างไรและเรียนรู้ภาษาอย่างเป็นธรรมชาติอย่างไร
2.ประสบการณ์ทางด้านภาษาของเด็กเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
3.เชื่อว่าเด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้
4.เด็กเรียนรู้ได้ดีที่สุด ถ้าสอนแบบ Whole Language คือ
4.1 สอนอย่างเป็นธรรมชาติ
4.2 สอนอย่างมีความหมายต่อเด็ก
4.3 สอนให้เด็กสามารถนำคำที่สอนไปใช้ได้
4.4 เนื้อหาที่สอนต้องอยู่ในชีวิตประจำวันที่เด็กได้ใช้
5.เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดถ้ามาจากการตัดสินใจของเด็ก
6.ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเขาเป็นส่วนหนึ่งในสังคมของห้องเรียนนั้นๆ
7.ไม่ให้เด็กรู้สึกว่าตอนนี้ตัวเองกำลังถูกแข่งขัน เพราะเด็กรู้สึกกดดัน
8.ครูต้องสอนทุกทักษะไปพร้อมๆกันและเกี่ยวข้องกัน
9.ทำให้การเรียนภาษาของเด็กเป็นสิ่งที่น่าสนใจและสนุกสนาน
ควรสอนภาษาเด็กอย่างไร
1.เริ่มจากสิ่งที่เด็กรู้แล้วและอยู่ในความสนใจของเด็ก
2.ให้ความเคารพและยอมรับภาษาที่เด็กใช้
3.การประเมินโดยการสังเกต
4.ใช้วิธีการประเมินที่เหมาะสมและจำกัดการประเมินแบบต่างๆ
5.เสนอความคิดเห็นต่อผู้ปกครอง
6.ส่งเสริมให้เด็กเรียนอย่างกระตือรือร้น
7.สร้างความรู้สึกประสบความสำเร็จ
8.ให้เด็กอ่านสิ่งที่เด็กคุ้นเคย
9.อ่านให้เด็กฟังจากแหล่งต่างๆ
10.จัดประสบการณ์การอ่านและส่งเสริมเด็กให้ลงมือกระทำ
11.ส่งเสริมให้เด็กรู้จักเสี่ยง กล้าลองผิดลองถูก
12.พัฒนาทางด้านจิตพิสัยและพัฒนาการทางความคิดของเด็กให้มีความรักในภาษา

ข้อควรปฏิบัติในการสอนภาษา
1.ควรสอนในสภาพที่เป็นธรรมชาติที่สุด
2.ควรสอนโดยไม่มีการแบ่งแยกกลุ่มเด็กเก่งเด็กอ่อน
3.การที่เด็กเกิดมาพร้อมกับความสนใจอยากรู้อยู่แล้วจะเป็นแรงกระตุ้นให้เขาสามารถจำคำต่างๆได้

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

บันทึกครั้งที่2

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
(Intellectual Development Theory)

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม
ทฤษฎีการเรียนรู้

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้ (Lall and Lall, 1983:45-54)
1) พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
1.1 ) ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด เด็กจะต้องมีโอกาสที่จะปะทะกับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดในขั้นนี้ มีความคิดความเข้าใจของเด็กจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น สามารถประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อมือ และสายตา เด็กในวัยนี้มักจะทำอะไรซ้ำบ่อยๆ เป็นการเลียนแบบ พยายามแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก เมื่อสิ้นสุดระยะนี้เด็กจะมีการแสดงออกของพฤติกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมายและสามารถแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการแต่กิจกรรมการคิดของเด็กวัยนี้ส่วนใหญ่ยังคงอยู่เฉพาะสิ่งที่สามารถสัมผัสได้เท่านั้น
1.2 ) ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
1. ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น ความคิดและเหตุผลของเด็กวัยนี้ จึงไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็นจริงนัก นอกจากนี้ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ยังคงอยู่ในระดับเบื้องต้น เช่น เข้าใจว่าเด็กหญิง 2 คน ชื่อเหมือนกัน จะมีทุกอย่างเหมือนกันหมด แสดงว่าความคิดรวบยอดของเด็กวัยนี้ยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่พัฒนาการทางภาษาของเด็กเจริญรวดเร็วมาก
2. ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน รู้จักนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนำเหตุผลทั่วๆ ไปมาสรุปแก้ปัญหา โดยไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อนการคิดหาเหตุผลของเด็กยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้ หรือสัมผัสจากภายนอก
1.3 ) ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ สามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความคงตัวของสิ่งต่างๆ โดยที่เด็กเข้าใจว่าของแข็งหรือของเหลวจำนวนหนึ่งแม้ว่าจะเปลี่ยนรูปร่างไปก็ยังมีน้ำหนัก หรือปริมาตรเท่าเดิม สามารถที่จะเข้าใจความสัมพันธ์ของส่วนย่อย ส่วนรวม ลักษณะเด่นของเด็กวัยนี้คือ ความสามารถในการคิดย้อนกลับ นอกจากนั้นความสามารถในการจำของเด็กในช่วงนี้มีประสิทธิภาพขึ้น สามารถจัดกลุ่มหรือจัดการได้อย่างสมบูรณ์ สามารถสนทนากับบุคคลอื่นและเข้าใจความคิดของผู้อื่นได้ดี
1.4 ) ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่ สามารถที่จะคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎี และเห็นว่าความเป็นจริงที่เห็นด้วยการรับรู้ที่สำคัญเท่ากับความคิดกับสิ่งที่อาจจะเป็นไปได้ เด็กวัยนี้มีความคิดนอกเหนือไปกว่าสิ่งปัจจุบัน สนใจที่จะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างและมีความพอใจที่จะคิดพิจารณาเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมพัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรกของชีวิต ซึ่งเพียเจต์ ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์ สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น ได้แก่
1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น
2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่
3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสองปลาย เช่น ปานกลาง น้อย
4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้
5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง
6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน
2) ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่
3) กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้
3.1) การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
3.2) การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
3.3) การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล
แหล่งที่มา
http:// images.oiland.multiply.multiplycontent.com

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

บันทึกครั้งที่1

นางสาวสุพัตรา ดาทอง
รหัสนักศึกษา 5111209887
วันศุกร์ ที่ 6 พฤศจิกายน 2552

การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย คือ การที่เด็กได้เกิดการเรียนรู้โดยเรียนแบบลงมือกระทำกิจกรรมบูรณาการสามารถเชื่อมโยงได้และนำมาจัดประสบการณ์โดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง เด็กจะเรียนรู้ทางด้านภาษา และการเรียนรู้นั้นส่งผลถึงพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ สังคม และจิตใจ

บรรยากาศในห้องเรียน
1.บรรยากาศในห้องเรียนดีเย็นสบาย
2.อาจารย์เป็นกันเองกับนักศึกษา
3.อาจารย์และนักศึกษาส่วนร่วมในการถาม-ตอบ

สรุป
การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย คือ การวางแผนในการจัดเตรียมสื่ออุปกรณ์ในการลงมือทำกิจกรรม โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เด็กจะเรียนรู้ทางด้านภาษาได้แก่ ฟัง พูด อ่าน เขียน โดยกิจกรรมนั้นจะเข้าสู่เนื้อหาและทำให้เด็กได้เกิดพัฒนาการสำหรับเด็กปฐมวัยทางด้านสติปัญญา อารมณ์ สังคม จิต
ใจ

เปรียบเทียบ
การแสดงความคิดเห็นความหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ทำให้รู้ว่าความคิดของตัวดิฉันนั้นก็มีส่วนคล้ายๆบ้างแต่ก็ยังครอบคลุมเนื้อหาไม่มากเท่าที่ควรและอาจารย์บรรยายให้ฟังอีกครั้งทำให้รู้เพิ่มมากขึ้นและนำมาปรับแก้ไขใหม่ให้มีเนื้อความเดียวทำให้รู้ความหมายการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยชัดเจนยิ่งขึ้น