ปริศนาคำทาย

การลากเส้นจากเสียงดนตรีโรงเรียนสาธิตอนุบาลจันทรเกษม

วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บันทึกครั้งที่ 6

สรุป
การใช้ภาษาในการที่เราจะนำไปสอนเด็กแต่ละวัน ซึ่งต้องจัดประสบการณ์ในการเรียน
และให้เล่าเกี่ยวกับประกาศ
บรรยากาศในห้องเรียน
1.ได้ทราบเกี่ยวกับการประกาศโดยอาจารย์จะสาธิตการประกาศขายบ้าน แล้วให้เพื่อนลองพูดประกาศเหมือนอาจารย์
2.อาจารย์เป็นกันเองมาก
3.น้ำเสียงในการประกาศชัดเจน

วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บันทึกครั้งที่ 5

สิ่งที่ได้รับจากที่เพื่อนนำเสนองาน
เรื่อง การจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้สอดคล้องกับพัฒนาการ เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านการฟัง พูด อ่าน เขียนและต้องผ่านการลงมือกระทำ ทดลอง ปฏิบัติจริง บนพื้นฐานอย่างอิสระ

บรรยากาศในการเรียน
1.เพื่อนนำเสนองานบางครั้งอธิบายไม่เข้าใจ
2.เพื่อนนำเสนอพูดน้ำเสียงยังไม่ชัดเจน คำควบกล้ำ
3..อากาศในห้องเรียนเย็น

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บันทึกครั้งที่ 4

อาจารย์ให้นำเสนองาน สรุปใจความสำคัญดังนี้
กลุ่ม 1 เรื่อง ความหมายของภาษา
ภาษาเป็นสิ่งจำเป็นในการถ่ายทอดวัฒนธรรม ซึ่งภาษาได้แก่การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน นอกจากนี้ท่าทางหรือสัญลักษณ์ยังเป็นภาษา ซึ่งมีผู้ส่งสารและผู้รับสารต้องเข้าใจความหมายตรงกัน


กลุ่ม 2 เรื่อง ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
ทฤษฎีของเพียเจต์ คือการเรียนรู้ของเด็กเป็นกระบวนการทำงานของระบบประสาท เรียกว่า"ปฏิบัติการ"
ทฤษฎีของบรูเนอร์ เป็นการเรียนรู้จากการทำกิจกรรมผ่านทางสมอง


กลุ่ม 3 เรื่อง จิตวิทยาการเรียนรู้
เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์เริ่มเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนตาย ดัง "สิ่งที่ทำให้คนเราแตกต่างจากสัตว์อื่น ๆ ก็เพราะว่า คนย่อมมีปัญญา
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
1. แรงขับ เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล
2. สิ่งเร้า เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ
3. การตอบสนอง เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า
4. การเสริมแรง เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น


กลุ่ม 4 เรื่อง แนวคิดนักการศึกษา
การสอนภาษาแบบองค์รวม คือการสอนที่เป็นไปตามธรรมชาติ เน้นสื่อที่มีความหมาย ประสบการณ์เดิม
หลักการอ่านและเขียนภาษาแบบองค์รวม
1.ผู้อ่านต้องต้องเก็บข้อมูลและทำความเข้าใจความหมายข้อความที่อ่าน
2.กระบวนการอ่านต้องเชื่อมโยงกับรูปภาพที่เด็กเห็น
3.การเขียนจะเน้นความสัมพันธ์
นักทฤษฎี
ดิวอี้ เกิดจากประสบการณ์การลงมือกระทำ
ไวกอตสกี การเรียนรู้จาการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลใกล้เคียง
ฮอลลิเดย์ สถานการณ์ในสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อภาษาสำหรับเด็ก


กลุ่ม 5 เรื่อง การจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก
หลักการจัดการเรียนรู้
ทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการ เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน
และต้องผ่านการลงมือกระทำ ทดลอง ปฏิบัติจริง บนพื้นฐานอย่างอิสระ

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บันทึกครั้งที่ 3 เทคนิคการสอนภาษา

เทคนิคการสอนภาษา
การสอนภาษาสำหรับเด็กไม่ใช่เพียงการสอนเฉพาะทักษะการอ่านและการเขียนแต่ต้องรวมถึงทักษะการฟัง การพูดด้วย ซึ่งเป็นพื้นฐานของการอ่านและการเขียนครูสามารถประเมินผลการสอนของตนเองจากเด็กง่ายๆ โดยให้สังเกตว่าเวลาเราสอนเด็กรู้สึกอย่างไร
แนวคิดพื้นฐานของการสอนภาษา
1.ครูจะต้องทราบว่าเด็กเรียนรู้อย่างไรและเรียนรู้ภาษาอย่างเป็นธรรมชาติอย่างไร
2.ประสบการณ์ทางด้านภาษาของเด็กเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
3.เชื่อว่าเด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้
4.เด็กเรียนรู้ได้ดีที่สุด ถ้าสอนแบบ Whole Language คือ
4.1 สอนอย่างเป็นธรรมชาติ
4.2 สอนอย่างมีความหมายต่อเด็ก
4.3 สอนให้เด็กสามารถนำคำที่สอนไปใช้ได้
4.4 เนื้อหาที่สอนต้องอยู่ในชีวิตประจำวันที่เด็กได้ใช้
5.เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดถ้ามาจากการตัดสินใจของเด็ก
6.ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเขาเป็นส่วนหนึ่งในสังคมของห้องเรียนนั้นๆ
7.ไม่ให้เด็กรู้สึกว่าตอนนี้ตัวเองกำลังถูกแข่งขัน เพราะเด็กรู้สึกกดดัน
8.ครูต้องสอนทุกทักษะไปพร้อมๆกันและเกี่ยวข้องกัน
9.ทำให้การเรียนภาษาของเด็กเป็นสิ่งที่น่าสนใจและสนุกสนาน
ควรสอนภาษาเด็กอย่างไร
1.เริ่มจากสิ่งที่เด็กรู้แล้วและอยู่ในความสนใจของเด็ก
2.ให้ความเคารพและยอมรับภาษาที่เด็กใช้
3.การประเมินโดยการสังเกต
4.ใช้วิธีการประเมินที่เหมาะสมและจำกัดการประเมินแบบต่างๆ
5.เสนอความคิดเห็นต่อผู้ปกครอง
6.ส่งเสริมให้เด็กเรียนอย่างกระตือรือร้น
7.สร้างความรู้สึกประสบความสำเร็จ
8.ให้เด็กอ่านสิ่งที่เด็กคุ้นเคย
9.อ่านให้เด็กฟังจากแหล่งต่างๆ
10.จัดประสบการณ์การอ่านและส่งเสริมเด็กให้ลงมือกระทำ
11.ส่งเสริมให้เด็กรู้จักเสี่ยง กล้าลองผิดลองถูก
12.พัฒนาทางด้านจิตพิสัยและพัฒนาการทางความคิดของเด็กให้มีความรักในภาษา

ข้อควรปฏิบัติในการสอนภาษา
1.ควรสอนในสภาพที่เป็นธรรมชาติที่สุด
2.ควรสอนโดยไม่มีการแบ่งแยกกลุ่มเด็กเก่งเด็กอ่อน
3.การที่เด็กเกิดมาพร้อมกับความสนใจอยากรู้อยู่แล้วจะเป็นแรงกระตุ้นให้เขาสามารถจำคำต่างๆได้